สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 31 กรกฎาคม-6 สิงหาคม 2563

 

ข้าว
 
1) สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562
เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16
ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2 จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และรอบที่  2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่
(นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตร
แบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
(6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่
ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map)
(9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
รถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพ
การเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร
(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565
(3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว
(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว
และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
2) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร
ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน
(บาท/ตัน) (ตัน)
ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14
ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16
ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30
ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25
ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16
กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 -
28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่
วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์
(ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิต
ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ วงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 30 เมษายน 2563
4) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ
อยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นรวมถึง
เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อยอัตราไร่ละ 500 บาทครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูก
ที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้วเว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,596 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,495 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,997บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,909 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 
 
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,019 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,460 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 483 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,912 บาท/ตัน)
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 470 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,511บาท/ตัน)
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 489 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,097บาท/ตัน)
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.8736 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
“จีน”พลิกส่งออกข้าว เทสต็อก 117 ล้านตัน ชิงตลาดแอฟริกา
สถานการณ์การส่งออกข้าวไทยปี 2563 ช่วงครึ่งปีแรก มีปริมาณ 3.14 ล้านตัน มูลค่า 2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 32 และร้อยละ 12 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ไทยเป็นอันดับ 3 ของโลก รองมาจากอินเดีย และเวียดนามสาเหตุมาจากปัญหาภัยแล้งส่งผลให้ปริมาณข้าวเปลือกลดลงจากภาวะปกติถึง 5 ล้านตัน หรือประมาณร้อยละ 20 อีกทั้งปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ทำให้ราคาข้าวไทยสูงกว่าคู่แข่งถึง 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โดยเฉพาะข้าวนึ่งถือเป็นสินค้าที่น่าห่วงจากปัญหาราคาข้าวนึ่งไทยสูงกว่าคู่แข่งอย่างอินเดียกว่าร้อยละ 80
แนวโน้มการส่งออกข้าวไทยครึ่งปีหลังยังอยู่ในภาวะยากลำบากต่อเนื่อง จากปัจจัยลบที่รุมเร้าต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทย ทำให้ไทยเสี่ยงที่จะเสียตลาดมากขึ้น และต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากคู่แข่ง “จีน” ที่มีสต็อกข้าวสารถึง 117 ล้านตัน ที่เตรียมระบายสู่ตลาดส่งออก
ไทยลดเป้าหมายส่งออก
นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการส่งออกข้าวในช่วงครึ่งปีหลังยังคงลำบาก เนื่องจากปัญหาของโควิด-19 ทำให้มีการนำเข้าข้าวมากกว่าปกติ และอยู่ในภาวะสต็อกเต็ม ซึ่งจะทำให้การส่งออกข้าวไทยในช่วง 1-2 เดือนจากนี้อาจชะลอตัวลง สมาคมจึงปรับลดเป้าหมายการส่งออกข้าวทั้งปี 2563 เหลือ 6.5 ล้านตัน มูลค่า 4,200 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่คาดว่าปริมาณ 7.5 ล้านตัน โดยแบ่งเป็น ชนิดข้าวขาวส่งออก 2.4 ล้านตัน ข้าวนึ่ง 1.2 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ 1.8 ล้านตัน ข้าวหอมไทย 8 แสนตัน และข้าวเหนียว 3 แสนตัน
“แม้เงินบาทจะอ่อนค่าลงมาร้อยละ 2-3 แต่ยังสูงกว่าคู่แข่ง โดยหวังว่าจะอ่อนค่าลงมากกว่านี้ประมาณ 32-33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เพราะหากยังอยู่ที่ 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะยิ่งทำให้การส่งออกลำบากมากขึ้น ซึ่งต้องดูทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ว่าจะมีนโยบายในการดูแลเรื่องนี้อย่างไร”
พ่ายข้าวขาวพื้นนุ่มเวียดนาม
ขณะที่ปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าวขาวของไทยยังคงเป็นโจทย์สำคัญที่รัฐบาลต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากขณะนี้ตลาดมี
ความต้องการบริโภค “ข้าวขาวพื้นนุ่ม” เห็นได้จากตลาดฟิลิปปินส์ ครึ่งปีแรกมีการนำเข้าข้าวขาว 1.3 ล้านตัน ซึ่งร้อยละ70-80 นำเข้าข้าวขาวพื้นนุ่มจากเวียดนาม นำเข้าจากประเทศไทยเพียง 2 แสนตัน จากภาวะปกติที่จะมีการนำเข้าข้าวขาวจากไทยประมาณครึ่งหนึ่ง สะท้อนว่าผู้บริโภคฟิลิปปินส์นิยมข้าวชนิดนี้มากขึ้นไม่เพียงเท่านั้น มาเลเซียก็หันไปซื้อเวียดนามมากขึ้นเช่นกัน
“การแก้ไข ไทยต้องมีการพัฒนาพันธุ์ข้าวขาวพื้นนุ่มเข้ามาทำตลาดมากขึ้นล่าสุดสมาคมได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ในการจัดทำยุทธศาสตร์ข้าว 10 ปีและได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาพันธุ์ข้าวพื้นนุ่มเพื่อนำมาแข่งขันกับคู่แข่ง โดยที่ผ่านมาได้มีการจัดประกวดพันธุ์ข้าวขึ้นเพื่อกระตุ้นให้สถาบัน หรือหน่วยงานที่พัฒนาพันธุ์ข้าวนำมาเสนอให้ภาครัฐ
เร่งผลักดัน โดยขึ้นทะเบียนพันธุ์ข้าวให้เร็วมากขึ้น ไม่ต้องรอกรมการข้าวเพียงอย่างเดียว เพื่อให้ไทยนั้นมีพันธุ์ข้าวเข้ามาแข่งขันได้”
จีนถล่มตลาดแอฟริกา
อนาคตบทบาทไทยในฐานะผู้ส่งออกจะลดลง โดยจะสูญเสียส่วนแบ่งตลาดข้าวมากขึ้น ซึ่ง “นายโชคชัย
เศรษฐีวรรณ” อุปนายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่าปัจจุบันผู้เล่นในตลาดข้าวโลกมีเพิ่มขึ้นจากปกติ 3-4 ราย อาทิ อินเดีย เวียดนาม ไทย สหรัฐ แต่ปีนี้มี “จีน” เพิ่มเข้ามาเป็นผู้เล่นในตลาดข้าว เนื่องจากจีนมีสต็อกข้าวถึง 117 ล้านตัน ซึ่งจะสำรองเพื่อการบริโภคเพียง 60-70 ล้านตันที่เหลือจะระบายออกมาในตลาด ซึ่งมีแนวโน้มจะส่งออกไปทดแทนตลาดข้าวขาวของไทย โดยเฉพาะตลาดเก่าอย่างแอฟริกา ซึ่งมีการประเมินว่าการส่งออกข้าวของจีนไปในตลาดแอฟริกา ปี 2563มีปริมาณ3 ล้านตัน และจะมีเพิ่มขึ้นเป็น 3.2 ล้านตันในปี 2564
ไม่เพียงเท่านั้น “เวียดนาม” ยังดึงส่วนแบ่งตลาดกลุ่มเอเชียไปจากไทยในช่วงครึ่งปีแรกทำให้ไทยส่งออกมาเลเซีย ลดลงร้อยละ 57.5 ฟิลิปปินส์ ลดลงร้อยละ81.8 มีเพียงญี่ปุ่นที่นำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.47 ขณะที่ข้าวนึ่งไทยส่งออกไปตลาดเบนิน ลดลงร้อยละ95.5 แคเมอรูน ลดลงร้อยละ 76.5 และเยเมน ลดลงร้อยละ 34.7 เพราะถูกอินเดียดึงส่วนแบ่งไปจากปัจจัยเรื่องราคาที่ถูกกว่าไทยถึงตันละ 70-80 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ตาม มีเพียงข้าวหอมมะลิเท่านั้นที่ยังคงรักษาส่วนแบ่งตลาดดี โดยไทยส่งออกไปสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ36.5 สิงคโปร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ112.6 และฮ่องกงร้อยละ23.8
“ภาพรวมสัดส่วนการส่งออกข้าวไทยไปในตลาดโลกปรับลดลง ทั้งแอฟริกา เอเชีย และสหรัฐอเมริกา ทั้งที่ปริมาณ
การซื้อขายและความต้องการข้าวในตลาดโลกยังเป็นจำนวนปกติ แต่ผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น”
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ยอดส่งออกที่ลดลงเหลือ 6.5 ล้านตัน ถือว่าต่ำสุดในรอบ 20 ปี นับตั้งแต่ปี 2543 ที่เคยส่งออกได้ 6.1 ล้านตัน โดยช่วงต้นปีราคาข้าวไทยแพง เช่น ข้าวขาว 5%ตันละ 520ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนาม ตันละ 460ดอลลาร์สหรัฐ อินเดีย ตันละ 360 ดอลลาร์สหรัฐ อย่างไรก็ดี จากค่าเงินบาทอ่อนค่า ผลผลิตข้าวทยอยออก ส่งออกไม่ดี ทำให้ปริมาณข้าวในประเทศเพิ่ม ส่งผลให้ราคาข้าวไทยถูกลง โดยข้าวขาว 5% เหลือตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามตันละ 410-450 ดอลลาร์สหรัฐ อินเดียตันละ 370 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคาดว่าการส่งออกข้าวไทยจากนี้จะดีขึ้น ประกอบกับคาดว่าอินโดนีเซียจะมีการนำเข้าข้าวในช่วงไตรมาส 4 ด้วย”
กู้ยอดขาย จีทูจี 3 แสนตัน
นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกข้าวของไทยทั้งปี 2563 ที่ 7.5 ล้านตัน โดยกรมเตรียมเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจจีน คอฟโก้ นำเข้า 300,000 ตัน ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากสัญญาที่รัฐบาลลงนามไว้ 1 ล้านตัน และได้ส่งมอบไปแล้ว 700,000 ตันพร้อมทั้งเร่งผลักดันการส่งออกไปตลาดมาเลเซียและฟิลิปปินส์ โดยเตรียมจัดคณะพบผู้นำเข้าเพื่อขยายการส่งออกข้าวให้มากขึ้น ส่วนแผนระยะยาวทางกรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำยุทธศาสตร์ข้าวต่อไป
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
เมียนมา
นาย SoeTunกรรมการบริหารสมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (Myanmar Rice Federation: MRF) กล่าวว่า รัฐบาลเมียนมาปรับขึ้นราคาข้าวขั้นต่ำในปี2563 เนื่องจากต้นทุนทางการเกษตรกรรมและต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น โดยคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิและพัฒนาสวัสดิการทางเศรษฐกิจของเกษตรกร (The committee for protecting rights and enhancing economic welfare of farmers) ได้กำหนดราคาข้าวขั้นต่ำสำหรับช่วงฤดูมรสุมในปี2563 จนถึงฤดูร้อนปี2564 อยู่ที่ 520,000 จ๊าต (ประมาณ 12,300 บาท) ต่อ 100 กระบุง หรือประมาณ 2,086 กิโลกรัม (หน่วยวัดท้องถิ่นของเมียนมา 1 กระบุง น้ำหนักประมาณ 20.86 กิโลกรัม) ทั้งนี้เมื่อปีงบประมาณ 2561/62
(1 ตุลาคม 2561 - 30 กันยายน 2562) ราคาข้าวขั้นต่ำกำหนดไว้ที่ 500,000 จ๊าต (ประมาณ 11,850 บาท) ต่อ 100 กระบุง
นาย SoeTunอธิบายว่าการกำหนดราคาขั้นต่ำข้าวนั้นจะคำนวณจากต้นทุนการผลิต เนื่องจากปัจจุบันต้นทุนสินค้าข้าวเพิ่มสูงขึ้น จึงได้มีการแก้ไขการกำหนดราคาขั้นต่ำ โดยราคาข้าวขั้นต่ำที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้รายได้จากการส่งออกข้าวของประเทศเมียนมาเพิ่มมากขึ้นในปีต่อๆไป ทั้งนี้ปัจจุบันราคาส่งออกข้าวเมียนมาได้ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 10-15 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี2563
ปัจจุบันเมียนมาสามารถส่งออกข้าวหักไปยังประเทศจีนได้อย่างถูกกฎหมาย หลังจากทั้งสองประเทศตกลง
ที่จะเพิ่มรายชื่อสินค้าข้าวหักไว้ในสัญญาการส่งออกสินค้าในปี2563 โดยนาย SoeTunได้กล่าวว่าก่อนหน้านี้
ประเทศจีนนำเข้าข้าวหักจากเวียดนามเพียงประเทศเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันจีนได้อนุญาตให้สามารถนำเข้าข้าวหัก
จากประเทศเมียนมาทำให้ตลาดการส่งออกเมียนมามีแนวโน้มที่ดีมากขึ้น
สมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) ได้คาดการณ์ว่าเมียนมาจะสามารถส่งออกข้าวและข้าวหักรวมกัน
ปริมาณกว่า 2.5-3 ล้านตัน โดยประเทศจีนจะเป็นผู้ซื้อหลักของเมียนมาตามด้วยมาเลเซียและฟิลิปปินส์รวมถึงประเทศในแอฟริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนี้MRF รายงานว่าระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - กรกฎาคม 2563 ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นเป็น 2.2 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าการค้ารวมมากกว่า 666 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีปริมาณข้าวเพิ่มขึ้น 360,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (วันที่ 1 ตุลาคม 2561 - 10 กรกฎาคม 2562) อย่างไรก็ตามยังมีความเสี่ยงที่ปริมาณการส่งออกจริงอาจไม่เป็นไปตามที่สมาพันธ์ฯคาดการณ์ไว้ทั้งนี้เมื่อสองสัปดาห์ที่ผ่านมาไทยหยุดการนำเข้าปลายข้าวหรือข้าวหัก (Broken Rice) จากประเทศเมียนมา เนื่องจากความต้องการข้าวหักในไทยลดลงอย่างเฉียบพลัน
นาย MaungMyintOoจากบริษัท KlohtooWah Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทผู้ส่งออกข้าวท้องถิ่นในเมียนมา
กล่าวว่า ประเทศไทยได้หยุดการนำเข้าเนื่องจากราคาข้าวที่ตกต่ำภายในประเทศ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีความต้องการ
นำเข้าสินค้าข้าวหักจากเมียนมา โดยก่อนหน้านี้เมียนมาส่งออกข้าวหักประมาณ 500 ตันต่อสัปดาห์ไปยังประเทศไทย โดยผู้ส่งออกข้าวเมียนมารายหนึ่งมีความเห็นว่าผู้นำเข้าไทยเกิดความลังเลที่จะนำเข้าข้าวหักและปลายข้าวจากเมียนมา เนื่องจากราคาและภาษีส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้นในขณะที่คุณภาพของข้าวหักของเมียนมายังไม่ดีพอเนื่องจากมีผู้ค้าข้าวได้นำข้าวคุณภาพต่ำผสมรวมเข้าไปด้วย
สมาพันธ์ข้าวแห่งเมียนมา (MRF) แสดงความเห็นว่า แม้ตัวเลขการส่งออกโดยรวมดีขึ้น แต่ยังคงมีความเสี่ยงจากมูลค่าการค้าชายแดนระหว่างเมียนมาและจีนที่ลดลง โดยการส่งออกข้าวชายแดนระหว่างทั้งสองประเทศช่วงวันที่ 1 ตุลาคม 2562 - 10 กรกฎาคม 2563 ลดลงเหลือเพียง 93.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือลดลงไปกว่า 171 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากประเทศจีนเข้มงวดในการปราบปรามการค้าที่ผิดกฎหมายและมีมาตรการป้องกันควบคุมโรคเพิ่มเติมในช่วงเวลาดังกล่าว เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
ปากีสถาน
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ว่าในปีการตลาด 2563/64 (พฤศจิกายน 2563-ตุลาคม2564) ปากีสถานจะมีผลผลิตข้าวประมาณ 7.4 ล้านตันข้าวสารเท่ากับปีที่แล้ว ซึ่งตามปกติปากีสถานจะเริ่มเพาะปลูกข้าวประมาณเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนและจะเริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี โดยในปีนี้แม้ว่าจะมีสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 แต่ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกข้าวมากนัก ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา
(The Pakistan Metrological Department) คาดว่าในปีนี้ปากีสถานจะมีฝนตกมากกว่าระดับปกติประมาณร้อยละ10 (ฤดูฝนจะเริ่มในเดือนกรกฎาคมไปจนถึงเดือนกันยายน) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลดีต่อการเพาะปลูกข้าวและทำให้
มีน้ำเก็บสำรองสำหรับการเพาะปลูกในฤดูถัดไปได้มากขึ้น
ด้านสถานการณ์การระบาดของตั๊กแตนทะเลทรายนั้น จากการที่รัฐบาลดำเนินมาตรการเพื่อควบคุม
ฝูงตั๊กแตนทำให้การโจมตีถูกจำกัดไว้ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายและบริเวณพรมแดน โดยมีรายงานว่าการโจมตีของตั๊กแตนยังไม่ส่งผลกระทบต่อการปลูกข้าว แต่คาดว่าการโจมตีของฝูงตั๊กแตนจะมีผลกระทบต่อพืชผักและอาหารสัตว์รวมทั้งกล้วยไม้และผลไม้
การส่งออกข้าวในปีการตลาด 2563/64 (พฤศจิกายน 2563-ตุลาคม 2564) คาดว่าจะมีประมาณ 4.4 ล้านตัน โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปีการตลาด 2563/64 (พฤศจิกายน 2563-พฤษภาคม 2564) ปากีสถานส่งออกข้าวแล้วประมาณ 2.7 ล้านตัน โดยมีรายงานว่าภาวะการระบาดของเชื้อไวรัสCOVID-19 ได้ส่งผลกระทบต่อโซ่อุปทานข้าวของปากีสถานพอสมควร
อย่างไรก็ตามในส่วนของการส่งออกข้าวบาสมาติปากีสถานได้รับอานิสงค์จากการที่รัฐบาลอินเดียใช้มาตรการล็อคดาวน์ทำให้ตลาดในตะวันออกกลางที่นำเข้าข้าวบาสมาติหันมาซื้อข้าวบาสมาติจากปากีสถานมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ บาห์เรน เป็นต้น ขณะที่การส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่บาสมาติมีจำนวนลดลงจากกการที่ประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญ เช่น จีน และประเทศในแถบแอฟริกาประสบปัญหาด้านโลจิสติกส์
และการปิดประเทศ
ที่มา : สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย


กราฟราคาที่เกษตรกรขายได้ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% และราคาขายส่งตลาด กทม. ข้าวสารเจ้า 5%
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.07 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.17 ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.22 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.17
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  8.88 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.80 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.34 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 292.40 ดอลลาร์สหรัฐ (9,027 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 287.67 ดอลลาร์สหรัฐ (9,000 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.64 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 27 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกันยายน 2563 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 312.76 เซนต์ (3,855 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 320.44 เซนต์ (4,010 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.40 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 155 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2563 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 – กันยายน 2563) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.74 ล้านไร่ ผลผลิต 28.531 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.27 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.67 ล้านไร่ ผลผลิต 31.080 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.59 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.83  แต่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 8.20 และร้อยละ 8.95 ตามลำดับ โดยเดือนกรกฎาคม 2563 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 0.34 ล้านตัน (ร้อยละ 1.19 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2563 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2563 ปริมาณ 18.40 ล้านตัน (ร้อยละ 64.50 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
ผลผลิตมันสำปะหลังออกสู่ตลาดลดลง และหัวมันสำปะหลังมีเชื้อแป้งต่ำ เนื่องจากมีฝนตกชุกและเป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยว สำหรับลานมันเส้นส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ ส่วนโรงงานแป้งมันสำปะหลังเปิดดำเนินการไม่มาก
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.66 ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1.64 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.22
ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.89 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.81 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.38
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.94 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.74 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.97
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.95 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 245 ดอลลาร์สหรัฐฯ (7,643 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 433 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,513 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัว เท่ากับสัปดาห์ก่อนในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (13,547 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2563 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกรกฎาคมจะมีประมาณ 1.502 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.270 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.545 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.278 ล้านตัน ของเดือนมิถุนายน คิดเป็นร้อยละ 2.78 และร้อยละ 2.88 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.71 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 3.54 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 4.80                                     
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.30 บาท ลดลงจาก กก.ละ 20.71 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.98  
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มมาเลเซียสูงขึ้นร้อยละ 3 ในวันจันทร์ที่ 3 ส.ค. 63 โดยขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันถั่วเหลืองและการส่งออก ราคาอ้างอิง ณ เดือนตุลาคม ตลาดเบอร์ซามาเลเซีย อยู่ที่ 2,759 ริงกิตต่อตัน มาเลเซียส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากเดือนมิถุนายน 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,864.23 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.45 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,819.88 ดอลลาร์มาเลเซีย (21.23 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.57  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 710.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.23 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 701.88 ดอลลาร์สหรัฐฯ (22.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.16
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.50 บาท
ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.03
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 888.20 เซนต์ (10.22 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 898.12 เซนต์ (10.46 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.10
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 284.62 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 289.78 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.19 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.78
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.47 เซนต์ (21.72 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 29.69 เซนต์ (20.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.00


 

 
ยางพารา

 

 
สับปะรด

 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน  
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
 ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,068.80 ดอลลาร์สหรัฐ (33.00 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,055.00 ดอลลาร์สหรัฐ (33.01 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.31 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 971.20 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 958.33 ดอลลาร์สหรัฐ (29.98 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.34 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,036.60 ดอลลาร์สหรัฐ (32.00 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,022.67 ดอลลาร์สหรัฐ (32.00 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 580.20 ดอลลาร์สหรัฐ (17.91 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 572.33 ดอลลาร์สหรัฐ (17.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,323.00 ดอลลาร์สหรัฐ (40.85 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 1,305.67 ดอลลาร์สหรัฐ (40.85 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 แต่ทรงตัวในรูปเงินบาทเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.85 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.08
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน


 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2563 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 63.81 เซนต์(กิโลกรัมละ 44.05 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 61.27 เซนต์ (กิโลกรัมละ 42.84 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.15 (สูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 1.21 บาท)

 
 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,730 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,792 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.46
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,420 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,472 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.53
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 883 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 875 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.91


 

 
ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
สถานการณ์ตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่    ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีอย่างต่อเนื่อง  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  76.86 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 71.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 70.16 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.35 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 77.20 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,800 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 


ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อและชิ้นส่วนต่างๆของไก่ออกสู่ตลาดสอดคล้องกับความต้องการบริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.78 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 34.14 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 41.17 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 12.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดหลักของไข่ไก่คือสถานศึกษาเปิดภาคเรียน ประกอบกับไข่ไก่ยังคงเป็นอาหารประเภทโปรตีนราคาถูก ส่งผลให้ความต้องการบริโภคมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 292 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 286 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 293 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 274 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 295 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 325 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 2.99 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 337 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 343 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.75 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 351 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 313 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 94.56 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.45 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.77 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 98.04 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.54 บาท และภาคใต้ ไม่มีรายงานราคา


กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 74.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.59 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 71.78 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 

 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม – 6 สิงหาคม 2563) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.00 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.43 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 70.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.43 บาท
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง) ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 86.27 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 88.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.17 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 130.00 บาท ราคา  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.35 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 141.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.25 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 68.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.88 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.44 บาท
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
  สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา              
 สำหรับราคาขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา